วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฎิบัติการที่ 7 การใช้โปรแกรม Web Browser และการสืบค้นข้อมูล

การใช้โปรแกรม Web Browser และการสืบค้นข้อมูล
1. การเรียกใช้โปรแกรม Web Browser เพื่อเรียกดูข้อมูลต่าง ๆบน World Wide Web
       โปรแกรม Web Browser เป็นโปรแกรมาที่ทำงานอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้บริการเว็บ ใช้สำหรับอ่านข้อมูลและแปลเอกสาร HTML เป็นข้อมูลแสดงผลบนจอภาพที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ

2. การเรียกดูข้อมูลโดยการระบุ URL
       การเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ในหน้าเว็บที่อยุ่บน World Wide Web ทำได้โดย พิมพ์ URL ที่ต้องการในส่วนของ Address Box เช่น http://www.buu.ac.th/ แล้วกดแป้น Enter

3. การใช้งานปุ่มต่าง ๆ บนแถบเครื่องมือ (Tool Bar)
       - ปุ่มย้อนกลับ (Back) ใช้สำหรับย้อนกลับไปยังหน้าเว็บเพจที่เคยเข้าชม ในลำดับก่อนหน้าปัจจุบัน
       - ปุ่มเดินหน้า (Forward) ใช้สำหรับเดินหน้าไปยังหน้าเว็บเพจที่เคยเข้าชม ในลำดับหลังหน้าปัจจุบัน
       - ปุ่มหยุด ใช้สำหรับหยุดการติดต่อดาวน์โหลดแฟ้มเอกสาร HTML ที่กำลังเรียกขึ้นมาปรากฎบนหน้าจอ
       - ปุ่มรีเฟรช ใช้สำหรับปรับปรุงข้อมูลที่กำลังแสดงอยู่บนหน้าจอให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน
       - ปู่มโฮม ใช้สำหรับเรียกหน้าเว็บที่กำหนดไว้เป็นหน้าโฮมเพจของเครื่องนั้น ๆ ขึ้นมาแสดง (โดยการกำหนดหน้าเว็บใด ๆ ให้เป็นหน้าโฮมเพจสามารถกำหนดได้ที่เมนู Tools>Internet Options และกำหนดที่อยู่ของเว็บที่ต้องการลงไปในส่วน Home Page)
       - ปุ่มค้นหา ใช้สำหรับแสดงกล่องข้อความ เพื่อค้นหาเว้บเพจที่มีข้อความที่ระบุ หรือค้นหาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือค้นหาของบริษัทไมโครซอฟต์

4. การใช้งานคุณสามบัติ Favorites
       4.1 การจัดเก็บ URL ต่าง ๆที่เราสนใจไว้เพื่อเป้ฯทางลัดและเกิดความสะดวกในการเรียกใช้งานหน้าเว็บเพจในภายหลังโดยไม่ต้องจดจำ URL ของเว็บเพจนั้น ๆ สามารถทำได้โดยการใช้คุณสมบัติ Favorites ของโปรแกรม โดยการจัดเก็บ URL ไว้ในรายการ Favorites

5. การใช้ History
        History ที่ใช้ในโปรแกรม Web Browser เช่น Internet Explorer เป็นการแสดง URL ที่เคยเข้าไปใช้งาน ผู้ใช้สามารถเรียกดู history โดยการเลือกเมนู View จากนั้นเลือกเมนูย่อย Explorer  bar และเลือก History จะปรากฎรายการชื่อเว็บเพจที่เคยเรียกใช้งาน แบ่งตามระยะเวลาที่เรียกใช้งานเว็บเพจนั้น ๆ

6. Seareh Engine บน www และการสืบค้นข้อมูลอย่างง่าย
       เครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลบน www อาจเรียกได้อย่างนึงว่า Search Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่บนเว้บไซต์ได ๆ มีหน้าที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ บน www โดยข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อาจเป็น แฟ้มรุปภาพ แฟ้มภาพเคลื่อนไหว แฟ้มข้อมูลเสียง แฟ้มข้อมูลเอกสารประเภทต่าง ๆได้แก่ เอกสาร HTML เอกสาร Word เอกสาร Pdf หรือ แฟ้มข้อมูลประเภทอื่น ๆ

7. การสืบค้นแบบซับซ้อน ด้วยโปรแกรม Google Search Engine
       เรียกใช้โปรแกรม Google โดยพิมพ์ http://www.google.co.th/ ในช่อง Address ของโปรแกรม Internet Explorer จะปรากฎจอภาพจากเว็บไซต์ของ google จากนั้นคลิกที่ลิงค์การค้นหาขั้นสูง

8. การสืบค้นข้อมูลของสำนักหอสมุดโดยใช้ Web OPAC
       ในหน้าต่างโปรแกรม Internet Explorer ในช่อง Address ให้พิมพ์ http://lib.buu.ac.th / จะปรากฎเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยบูรพา แล้วคลิกที่ลิงค์ Web OPAC

ปฏิบัติการที่ 12 การใช้งาน Wiki

การใช้งาน  Wiki
       ปัจจุบันโปรแกรมประยุกต์บนเว็บมีการพัฒนาเป็นระบบสารานุกรมสาธารณะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์อย่างง่าย โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่เน้นการทำระบบสารานุกรมและรวบรวมความรู้หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน โดยรองรับภาษามากกว่า 70 ภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย ปฏิบัติการนี้ได้นำซอฟต์แวร์เพื่อสังคมประเภทระบบสารานุกรมสาธารณะที่ชื่อว่า Wikipedia และ Uncyclopedia มาให้บุคคลรู้จักใช้งานซอฟต์แวร์เพื่อสังคม และสามารถนำไปใช้สร้างองค์ความรู้ได้
                วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน เป็นเว็บไซต์แบบพิเศษที่เรียกว่า วิกิในลักษณะที่ร่วมกันแก้ไขเป็นไปได้อย่างง่ายดาย มีหลายคนร่วมปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคุณก็สามารถร่วมแก้ไขได้ บทความจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกการแก้ไข ซึ่งการแก้ไขทุกครั้งถูกเก็บไว้ทั้งหมดในส่วนของประวัติในแต่ละหน้า เนื้อหาในวิกิพีเดียเกิดขึ้นโดยการร่วมเขียนจากอาสาสมัครจากทั่วโลกโดยเว็บไซต์เปิดให้ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้อย่างอิสระ ซึ่งในปัจจุบันวิกิพีเดียได้รับความนิยมเป็น 1 ใน 10 เว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก
                ขั้นตอนการสมัครสามชิกของวิกิพีเดีย
1.  คลิกสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่ เพื่อทำการสมัคร
2.  ทำการกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไปตามหน้าเว็บ
3. เมื่อทำการกรอกครบแล้ว ระบบจะตอบรับ User ของคุณ
คำสั่งในวิกิพีเดีย
                คำสั่งในวิกิพีเดีย เป็นคำสั่งเฉพาะในการจัดรูปแบบและย่อหน้าในวิกิพีเดียในตารางด้านล่างคอมลัมน์ซ้ายจะแสดงผลลัพธ์ของคำสั่ง และคอลัมน์ขวาจะแสดงว่าคำสั่งอะไรที่จะต้องพิมพ์เข้าไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นั้น การแก้ไขสามารถทดลองได้ โดยภายหลังการทดลองให้กด แสดงตัวอย่าง
ด้านล่างเพื่อดูผลที่เกิดขึ้นหรือถ้าอยากทดลองหลายๆ คำสั่งพร้อมบันทึกไว้ ให้ลองทดลองในหน้า วิกิพีเดีย: กระบะทราย ซึ่งเป็นหน้าสำหรับทดบองการเขียนบทความในบางหมวดหมู่
วิธีการใส่ภาพ
                อธิบายถึงการนำภาพมาใช้ในวิกิพีเดีย ซึ่งภาพที่ใช้นั้นจะต้องอัปโหลดที่หน้าอัปโหลดของวิกิพีเดียไทย หรือหน้าอัปโหลดของคอมมอนส์เท่านั้น สำหรับภาพที่ถูกอัปโหลดไว้แล้วในวิกิพีเดียไทย สามารถดูได้ที่รายการภาพหรือห้องภาพใหม่ สำหรับคอมมอนส์นั้น สามารถหาดูได้ที่ วิกิพีเดียคอมมอนส์ ก่อนนำภาพมาใช้งานควรศึกษานโยบายการใช้ภาพ ส่วนวิธีการอัปโหลดภาพดูได้ที่วิกิพีเดีย : การอัปโหลดภาพ การใส่ภาพแบ่งเป็น
                1. การใส่ภาพปกติ
                2. การกำหนดขนาดและตำแหน่งอัตโนมัติ
                3. การกำหนดขนาดและไม่มีกรอบรูป
                4. การใส่ภาพเป็นชุดหรือแกลอรี

ปฏิบัติการที่ 11 การใช้งาน Online Bookmarking

การใช้งาน Online Bookmarking
ปฏิบัติการ
       ปัจจุบันนี้การค้นหาข่าวสารความรู้ต่าง ๆ เป็นเรื่องง่ายกว่าสมัยก่อนมาก เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบนระบบเครือข่าย ก่อให้เกิดเครือข่ายที่ใหญที่สุด และเป็นที่รวบรวมความรู้ต่าง ๆ มากมาย นั่นก็คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมาย ไม่วาจะเป็นข้อความ รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์วีดีโอ และไฟล์ข้อมูลแบบต่าง ๆ ทำให้ในบางครั้งการค้นหาข้อมูลบางอย่างกอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะข้อมูลส่วนใหญ่นั้น ยังไม่มีการแยกหมวดหมู่เอาไว้
       ปฏิบัติการนี้จะแนะนำซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่เรียกว่า Online Bookmarking เป็นลักษณะการเก็บข้อมูล Bookmark บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำหรับจัดประเภทและบันทึก URL ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ใช้ยังสามารถที่จะกำหนด Tag หรือให้คำนิยามกับเว็บไซต์นั้น ๆ ตามความคิดเห็นของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคน ซึ่งแต่ละเว็บไซต์นั้นก็สามารถนิยาม (ใส่ Tag) ได้ในหลาย ๆ กลุ่ม เช่น http://www.mirror.in.th/ เป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เก็บและเป็นเหล่งดาวน์โหลดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สของประเทศไทย บางคนอาจจะให้คำนิยามว่า "backup" "software bank" "mirror" ก็สามารถที่จะให้คำนิยามได้ทั้งหมด สมาชิกสามารถที่จะแชร์ Bookmarking ของตนเองให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ ซึ่งแต่ละคนก็จะให้สามารถที่จะให้คำนิยามเว็บไซต์ต่าง ๆได้เช่นกัน สิ่งที่จะได้ก็คือ
       1. จะสามารถแยกประเภทของเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งมาจากการให้คำนิยามเว็บไซต์ของสมาชิก
       2. สามารถที่จะแชร์ Bookmarking กับสมาชิกอื่น ๆ ได้
       3. สามารถค้นหารายการลิงค์ที่ต้องการได้ภายหลังจากคำนิยามที่กำหนด
       4. สามารถที่จะทราบแนวโน้มความสนใจเว็บไซต์ประเภทต่าง ๆ ของคนในโลกจาก Tag Cloud

ปฎิบัติการที่ 10 การใช้ Blogger

การใช้ Blogger
ปฏิบัติการ
       ปัจจุบันได้มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เพื่อรองรับการทำงานร่วมกันของกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ที่อยู่ต่างท้องถิ่นทั่วโลก โปรแกรมประยุกต์บนเว็บเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือที่จะแลกเหลี่ยนความรู้ และพบปะของผู้คนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือเรียกว่า ซอฟร์แวร์เพื่อสังคม (Social Software) ปฏิบัติการน้ได้นำซอฟร์แวร์เพื่อสังคมที่ชื่อว่า Blogger ซึ่งเป็นซอฟร์แวร์ประเภทบล็อก มาเป็นบทเรียน
       โปรแกรมประเภทบล็อกเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อาจจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือสื่ออื่น ๆ ที่สามารถเก็บบนระบบเครือข่ายได้ หรือเรียกอีกอยางหนึ่งได้ว่า บล็อกเป็นเหมือน ไดอารีออนไลน์  ที่ผู้ใช้งานสามารถสมัครได้ฟรี บทความต่าง ๆจะถูกบันทึกและเก็บไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ทั่วไป สามารถที่จะค้นหาบทความต่าง ๆ ได้ บางบทความหากผู้ใช้ไม่ต้องการเผยแพร่ก็สามารถที่จะปกปิดไม่ให้ผู้อื่นเห็ฯได้เช่นกัน บทความเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มาจากผู้ใช้ ซึ่งหากผู้ใช้งานอื่น ๆ ที่อ่านบล็อกสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น บทความ หรือรูปภาพต่าง ๆ เจ้าของบล็อคสามารถที่จะอ่านความคิดเห็นที่ผู้ใช้อื่น มาบันทึกไว้ สามารถลบความคิดเห้ฯที่ไม่ขอบหรือ สามารถทีจะแก้ไขจัดการบล็อคของตนเองได้อย่างเต็มที่ โปรแกรมที่เป้ฯที่นิยมในปัจจุบัน เช่น hi5, MSN Spaces, Bloggang, Blogger และอีกหลายโปรแกรม      
       โปรแกรมนี้เป้นโปรแกรมที่อยู่ในชุดของ Google หรือ Search Engine ที่เรารุ้จัก ดังนั้นหากเป็นสมาชิกอยุ่แล้วสามารถใส่อีเมล์แอดเดรส ที่มีอยุ่ เช่น hotmail หรือหากต้องการใช้ได้พื้อนที่มากขึ้น และต้องการใช้บริการอื่น ๆ ของกูลเกิ้ลให้สมัครด้วยอีเมลล์แอดเดรส (Gmail) หากยังไม่มีอีเมลล์แอดเดรส สามารถดูเอกสารคู่มือการสมัคร อีเมลล์ได้ที่ http://www.informaitcs.buu.ac.th/~310101/download/Gmail_Google.zip

ปฏิบัติการที่ 9 การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล

การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
1. การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
      การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protoclo : FTP) เป็นบริการในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการทำสำเนาแฟ้มจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตนมีสิทธิในใช้การใช้งาน หรือจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการให้บริการ FTP สำหรับบุคคลทั่วไปคือไม่ต้องระบุตัวผู้ใช้ (Anonymous FTP) โดยการสำเนาแฟ้มจากเครื่องให้บริการที่อยุ่ระยะไกล (Remote Host) มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้งานกำลังเข้าใช้งานอยู่ (Local Host) เรียกว่า การดาวน์โหลด ส่วนการสำเนาแฟ้มจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้งานอยู่ ไปไว้บนเครื่องให้บริการที่อยู่ระยะไกล เรียกว่า การอัพโหลด

2. การสร้างเอกสารเว็บเพจด้วยโปรแกรมบรรณาธิการ
       การสร้างเอกสารเว็บเพจด้วยโปรแกรมบรรณาธิการ (Text Editor) สามารทถได้โดยใช้ภาษาสำหรับสร้างเว็บเพจ ได้แก่ HTML (Hyper Text Langurge) เป็นรูปแบบของภาษาที่เขียนขึ้น เพื่อนำไปใช้งานในโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น Netscape Navigator, Microsoft Internet Explorer เป็นต้น เอกสารที่สร้างขึ้นโดยใช้ภาษา HTML นี้ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่ เอกสาร HTML เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ประเภทข้อความ ดังนั้น การสร้างเอกสาร HTML สามารถทำได้โดยการใช้โปรแกรมประเภทบรรฌธิกรสำหรับจัดการเอกสารที่เป็นข้อความ (Text Editor) และบันทึกแฟ้มเอกสาร HTML ให้มีนามสกุลเป็น .htm หรือ .html เอกสาร HTML มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
       - ข้อความที่ต้องการให้ปรากฎบนจอภาพ
       - ข้อความที่เป็นคำสั่งภาษา HTML เรียกว่า HTML Tag ซึ่งประกอบด้วยเครื่องหมาย"<" (Left angle bracket) ตามด้วยชื่อ Tag และ ">" (Right angle bracket)

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฏิบัติการที่ 8 การใช้โปรแกรมรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

การใช้โปรแกรมรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
1. การใช้งานเมล์ของมหาวิทยาลัยบูรพา
    การเข้าใช้งานเมล์ของมหาวิทยาลัย เพื่อรับ-ส่งจดหมายดิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยบูรพาเปลี่ยนการให้บริการ e-mail ไปใช้งานกับผู้ให้บริการคือ http://www.hotmail.com/  และใช้การบริหารผู้ใช้จากสำนักคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการใช้งานเมล์ของมหาวิทยาลัยจะต้องขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านจากสำนักคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วมหาวิทยาลัยจะสร้างให้เมื่อนิสิตลงทะเบียน

2. การสมัครใช้งาน Free E-mail
       Free e-mail เป็นบริการด้านจดหมาสยอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานบนโปรแกรม Web Browwer โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเฉพาะ เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook แต่เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาให้สามารถทำงานบนโปรแกรม Web Browser ได้เลย การใช้งานหลัก ๆ เหมือนการใช้โปรแกรมรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เพียงแต่ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของฟผู้ให้บริการเว็บเมล์ รายหนึ่งรายใดก่อน โดยการสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของแต่ละรายอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกัน

บทที่ 11 ปัญหาสังคมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย

ปัญหาสังคมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย      
       เข้าใจและรู้แนวทางในการแก้ปัญหาสังคมทีเกิดจากเทคโนโลยี, การใช้จริยธรรมและกฎหมายในการแก้ปัญหาสังคม, กรณีตัวอย่างทีเกียวกับอาชญากรรมและกฎหมายไอที

ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสนเทศ
1.1 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครืองมือที่มีไว้เพือให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครืองมื่อเครืองมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็มีประโยชน์น้อย และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครืองมือจะส่งผลต่อวิธีการทํางานของมนุษย์ เช่น พฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลคําจะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษและปากกา เป็นต้น
       ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ เราจะต้องวิเคราะห์และทําความเข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมทีจะเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครืองมือในชีวิตประจําวัน ยกตัวอย่าง เช่น เราอาจต้องการหาคําตอบว่า การทีมนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลียนแปลงไปอย่างไร
ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจําเป็นจะต้องทําการจดจําหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้ทีต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป หรือเราอาจต้องการหาคําตอบว่า อินเทอร์เน็ตมีผลอย่างไรต่อการศึกษา หรือคําตอบจากคําถามทีว่า โทรทัศน์วงจรปิดกระทบกับสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
       ในมุมมองทีว่าเทคโนโลยีเป็นเครืองมือทีมีไว้เพือให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ได้ถูกวิพากษ์ว่า
เทคโนโลยีจะเป็นตัวกําหนดการคิดและการกระทําของมนุษย์ เช่น การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
จะส่งผลต่อความสามารถในการเขียนตัวหนังสือของมนุษย์ เป็นต้น

1.2 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีผลกระทบซึงกันและกัน
       ภายใต้มุมมองแบบนี มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจเป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น
การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทํางานหลาย ๆ งานในขณะเดียวกันได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึงได้แก่
บทที่ กระแสความต้องการการสือสารทีรวดเร็วทัวถึงได้ผลักดันให้เกิดอินเทอร์เน็ต ปัญหาสังคมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย 7 จาก
       ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีสารสนเทศก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมเช่นกัน การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต ทําให้รูปแบบการติดต่อสือสารของสังคมเปลียนแปลงไป ผู้คนจํานวนมากจะติดต่อกันด้วยอีเมลแทนการเขียนจดหมาย มีการติดต่อซือขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการใช้ล่อลวงกันโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสือมากขึ้น ภายใต้มุมมองในลักษณะนีทังเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีอิทธิพลซึงกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิงการพัฒนาเปลียนแปลงของเทคโนโลยีก็เป็นผลมาจากกระบวนการทีซับซ้อนและลึกซึงทางสังคมเช่นกัน

1.3 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกลไกในการดํารงชีวิตของมนุษย์
       ภายใต้มุมมองในลักษณะนีจะมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นกลไกสําคัญในการกําหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสือสารของมนุษย์ จะถูกกําหนดว่าเป็นสิงทีต้องพึงพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนีก็มีเทคโนโลยีการสือสารอยู่หลายรูปแบบ แต่เทคโนโลยีทีมีความเสถียรจะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดํารงชีวิต ดังเช่น คนทีมีและใช้โทรศัพท์มือถือจะแตกต่างไปจากคนทีไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การทีมีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนทีสามารถติดต่อได้สะดวกและเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนทีไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไกการดํารงชีวิตของคนทีใช้โทรศัพท์มือถือและไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนันแตกต่างกัน เช่น เดียวกัน กลไกในการดํารงชีวิตของสังคมทีใช้อินเทอร์เน็ต

พิจารณาปัญหาสังคม
       จากมุมมองต่าง ๆ ทังสามทีกล่าวมาแล้วข้างต้น เราสามารถนํามาพิจารณาปัญหาสังคมทีอาจจะเกิดขึนกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ตลอดจนใช้สังเคราะห์สร้างความเข้าใจต่อปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึนแล้วในสังคม ทั้งนีก็เพือประโยชน์ในการหาทางป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทาปัญหาสังคมทีเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป อย่างไรก็ตามการทีตัดสินว่า กรณีใดเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมนัน ไม่ใช่เรืองง่ายเช่นเดียวกันกับวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น ในแต่ละกรณีนันจะมีความซับซ้อนทีแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ ซึงเป็นปัญหาสําคัญปัญหาหนึงในปัจจุบัน วิธีการแก้ปัญหาอาจจะมีหลากหลาย แต่วิธีการทียังยืนกว่าก็คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกของสังคมทีจะไม่ลุ่มหลงกับเรื่องหนึ่งเรืองใดมากเกินไป นอกจากนันปัญหาของสังคมเหล่านี้ยังมีความสัมพันธ์กับเรืองของจริยธรรม วัฒนธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย หรือมาตรฐานปฏิบัติแห่งสังคมนันๆ อีกด้วยก็จะแตกต่างจากสังคมอืนทีไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ปัญหาสังคมทีเกิดจากเทคโนโลยีสนเทศ
- ปัญหาเด็กติดเกมส์
- ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ
- ปัญหาสังคมเสือมโทรมจากการใช้เทคโนโลยีในทางทีผิด
- ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตทีเกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี
- การนําภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพือให้เกิดการเข้าใจผิด ฯลฯ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1 ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethics)
- ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อืน
- ตัง้ใจทํากิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
- ทําการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิงดีมีประโยชน์ต่อเพือนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อืนได้

2.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
- พึงรําลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนียังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
- หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านีในทางทีไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทีไม่ดีไม่เป็นทีพึงปรารถนาให้รุนแรงขึนได้
- ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึงกิจกรรมใดจนมากเกินไป

2.3ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมทีดี
- วัฒนธรรมทีดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้
- เช่น การให้เกียรติซึงกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อืน
- ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อืนพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมือนําผลงานของผู้อืนมาใช้ประโยชน์

2.4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
       พึงตระหนักถึงภัยอันตรายทีมาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านัน เช่น
- การติดตังระบบเพือกลันกรองข้อมูลทีไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน
- การให้ความรู้เรืองภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
- การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายทีมากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การค้นคว้าวิจัยเพือหาความรู้ทีเกียวข้องเพิมเติม

2.5 ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
       มาตรฐานทีเกียวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ เช่น มาตรฐานการรักษาความมันคงปลอดภัยในการประกอบ
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกําหนดเรืองความมันคงปลอดภัยทีเกียวข้องกับ
- บุคลากร
- ความมันคงปลอดภัยทางด้านกายภาพ
- สิงแวดล้อมขององค์กร
- การควบคุมการเข้าถึง
- การปฏิบัติตามข้อกําหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ

2.6 ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย
- เช่น การปฏิบัติตามข้อกําหนดทางลิขสิทธิ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา
- การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรืองจริยธรรม ตัวอย่างเช่น
- ข้อถกเถียงทีเกียวข้องกับผลกระทบจากการใช้วงจรปิด
- การใช้คุกกีในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรืองความเป็นส่วนตัวของมนุษย์
- ข้อถกเถียงในเรืองผลกระทบจากความแตกต่างในเรืองชนชันทางสังคม ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท
- ข้อถกเถียงในลักษณะของแนวนโยบายในการคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าดิจิตอลทีมีผลต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิงกําลังการซือและการใช้สินค้าไอที เป็นต้น

3.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง ตัวอย่างเช่น
- การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์
- การเกิดของกระแสโอเพนซอร์สเพือคานอํานาจกับซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้
- เครืองเอทีเอ็ม ทีออกแบบมาเพือให้ใช้ได้กับคนปกติได้ แต่ไม่สามารถใช้งานได้กับคน ตาบอด หรือคนพิการทีอยู่บนรถเข็นหรือคนทีมีปัญหาในการจํา

3.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
- ทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึกทีมนุษย์มี ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม หรือมีการสร้างสังคมรูปแบบเสมือนจริง ในกลุ่มของผู้สนใจ หรือมีแรงปรารถนา (passion) คล้ายคลึงกัน เรียกว่า โลกเสมือนจริง
(virtuality)
- กรณีของการเปลียนแปลงสภาพสังคมในเรืองของโลกเสมือนจริง (virtuality)
แยกกลุ่มตามความสนใจเป็น
       * ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Cyber Community)
       * การศึกษาแบบเสมือนจริง (Virtual Education)
       * การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง (Virtual Friendships)
       * องค์กรแบบเสมือนจริง (Virtual Organizations)
       * และอืนๆ
- สิงทีอาจเกิดขึนได้ในชุมชนเหล่านี ซึงอาจจะนําไปสู่การล่อลวงได้ ตัวอย่างเช่น
       * คนอ้วนอาจถูกทําให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมทีเกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การเกิดขึนของอินเทอร์เน็ตทําให้รูปแบบของปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึน
- จําเป็นทีต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ
- ในประเทศไทยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทีระบุว่า“รัฐจะต้อง ...
พัฒนาเศรษฐกิจท้องถินและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทัวถึงและเท่าเทียมกันทัวประเทศ”
- บรรดาองค์กรระหว่างประเทศต่างเข้ามามีบทบาทในการจัดประชุมเจรจา เพือจัดทํานโยบายและตัวบทกฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- ดังนันจึงถือเป็นเรืองสําคัญทีประเทศไทยจะต้องจัดทํา กฎหมายทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างพืนฐานในการพัฒนาประเทศ
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสํานักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพืนฐาน
โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรืองต่างๆ ดังนี้
a. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
b. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
c. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
d. กฎหมายการแลกเปลียนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
e. กฎหมายลายมือชืออิเล็กทรอนิกส์
f. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
g. กฎหมายโทรคมนาคม
h. ฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ
และการค้าระหว่างประเทศทีเกียวเนืองกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
i. กฎหมายทีเกียวเนืองกับระบบอินเทอร์เน็ต
j. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที
กรณีที่1 : นายจ้างเปิด e-mail ลูกจ้างอ่านได้หรือไม่?
กรณีที่2 : Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อืนมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิทุกกรณี หรือเปล่า?
กรณีที่3 : หมินประมาททางอินเทอร์เน็ตกับความรับผิดทางแพ่งหรือไม่?
กรณีที่4 : ทํา Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ?
กรณีที่5 : การดาวน์โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?

กรณีที่1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail
ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
       ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าองค์กรนัน ๆ มีการกําหนด User name และ Password ให้กับคนในองค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้ รวมทังสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ เพราะเป็น e-mail สําหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อืนทีไม่ใช่ขององค์กร จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ
ลูกจ้างสามารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

กรณีที่2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้
เป็นการละเมิดลิขสิทธิทุกกรณีหรือเปล่า?
       หากต้องทําการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อืนมาใช้งาน จําเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน หากนํามาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิผิดกฎหมาย หากนําไปใช้เพือการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ ยกเว้นสําหรับกรณีเพือการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ

กรณีที่3 การหมินประมาททางอินเทอร์เน็ต
สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่? ( 1)
       หากมีการหมินประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทังคดีอาญา และคดีแพ่ง
การหมินประมาททางแพ่งหมายถึง การบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จและทําให้เกิดความเสียหายต่อชือเสียง หรือการทํามาหาเลียงชีพของคนอื่น ส่วนใหญ่คดีหมินประมาทจะฟ้องร้องกันเป็นคดีแพ่ง
และเรียกค่าเสียหายกันมากๆ เพือให้จําเลยเข็ดหลาบ คดีแพ่งเรืองหมินประมาท ในประเทศไทยยังมีประเด็นทีน่าสนใจคือ เรื่องศาลทีจะฟ้องคดี
กรณีที การหมินประมาททางอินเทอร์เน็ต
สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่? (2)
       โจทก์สามารถฟ้องคดีได้ทีศาลทีจําเลยมีภูมิลําเนา อยู่ในเขตหรือศาลทีเป็นทีเกิดของเหตุในการฟ้องคดี การหมินประมาทโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ฝ่ายผู้เสียหาย อาจถือว่าความผิดเกิดขึนทัวประเทศ จึงทําการตระเวนไปฟ้องตามศาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้จําเลยต้องตามไปแก้คดี
มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ หากมีการมองว่าเป็นการทําซ้างานอันมีลิขสิทธิ แต่ถ้าการเชือมโยงนันเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อืนก็สามารถทําได้ แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิให้เรียบร้อย

สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่? (3)
       หากเป็นการเชือมโยงลึกลงไปถึงเนือหาส่วนอืนของเว็บผู้อืนจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิได้
ในกรณีทีไม่ต้องการให้ใครนําเว็บของเราไปเชือมโยงอาจจะระบุไว้ทีเว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทําให้ผู้ทีเข้ามาเชือมโยงหากยังมีการละเมิดสิทธิก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

กรณีที่4 : ทํา Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ?

 กรณีที่5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
– การ Download
โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ ก็ต่อเมือโปรแกรมทีผู้ใช้ Download มาใช้นัน ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware, Open Source
– สําหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต สามารถทําได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ หากได้รับอนุญาต
– แต่โดยทัวไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทําเพือการค้า